ค้างคาว นักผสมเกสรที่ยิ่งใหญ่

รู้หรือไม่ว่า “ค้างคาว” นอกจากจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกแล้ว ค้างคาวยังมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ นั่นคือการทำหน้าที่เป็นตัวผสมเกสรให้กับผลไม้หลายชนิด ค้างคาวบางกลุ่มมีพฤติกรรมการหากินคล้ายกับแมลงจำพวกผึ้ง และผีเสื้อ นั่นคือค้างคาวในกลุ่มที่กินผลไม้ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ของค้างคาวแม่ไก่ เช่น ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวบัว ค้างคาวขอบหูขาว เป็นต้น ค้างคาวเหล่านี้จะกินน้ำหวานและผลไม้เป็นหลัก ทำให้เวลาค้างคาวเข้าไปสัมผัสบริเวณช่อดอกของพืชผลตามสวนผลไม้ก็มักจะมีละอองเรณูติดไปกับค้างคาวและนำไปติดกับดอกอื่นๆในสวน ซึ่งเป็นการช่วยผสมเกสรให้กับผลไม้ได้เป็นอย่างดี wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading

Bird Walk โรงแรมบ้านท้องทราย เกาะสมุย

กิจกรรม : สำรวจนกในธรรมชาติ ในบริเวณโรงแรมบ้านท้องทราย เกาะสมุย จ.สุราษฎ์ธานี วิทยากร : ทีมกิจกรรมจาก baimai.org ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : พนักงานโรงแรมบ้านท้องทราย จำนวน 25 คน วันที่ : 23 พ.ค. 57 wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading

ภารกิจส่งมอบถังเก็บน้ำ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

Baimai.org ร่วมภารกิจส่งมอบถังเก็บน้ำให้กับสถานีวิทยุแม่ข่ายทุ่งใหญ่ ( เขาพระฤาษี ) เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 22 -27 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งทุ่งใหญ่ฯ จะก่อตั้งครบรอบ 40 ปีในปี 2558 ที่จะถึงนี้ wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading

เขาใหญ่ดีจัง เพื่อเด็กและครอบครัว

“เขาใหญ่ดีจัง เพื่อเด็กและครอบครัว” ร่วมสร้างเขาใหญ่ให้เป็นห้องเรียนสิ่งแวดล้อมสำหรับทุกๆ คน สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนหันมาเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือการสื่อความหมายธรรมชาติ เรียนรู้ธรรมชาติ สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading

เขื่อน กับการล่มสลายของระบบนิเวศ

เรื่อง: อุเทน ภุมรินทร์ ภาพ: กุลพัฒน์ ศรลัมภ์ ในช่วงที่สังคมไทยกำลังต้องการคำตอบว่า เขื่อนเป็นทางออกของการจัดการน้ำหรือไม่ เรามาฟังผลงานวิจัยจากเขื่อนเชี่ยวหลาน ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีกัน เขื่อนเชี่ยวหลานได้สร้างขึ้นในปี 2525 ส่งผลให้พื้นที่ป่าเขาสกมากกว่า 165 ตารางกิโลเมตรถูกแบ่งแยกกลายเป็นป่าหย่อมเล็กหย่อมน้อย (fragmentation) จำนวนถึง 100 กว่าเกาะ เมื่อป่าถูกซอยย่อย ทางทีมวิจัยต้องการค้นหาคำตอบว่า “นานแค่ไหน? ที่สิ่งมีชีวิตที่เหลืออยู่ตามเกาะแก่งจะสูญพันธ์หมดไปจากพื้นที่ องค์ความรู้ที่ได้จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องรู้ว่า ต้องเร่งมือโดยด่วนเพียงใด? เพื่อฟื้นฟูหย่อมป่าเหล่านี้ให้กลับคืนก่อนที่ระบบนิเวศจะล่มสลาย wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading

ปฏิบัติการ 4 ม. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ท่ามกลางการเติบโตของการท่องเที่ยว ทุกๆวันหยุดเรามักจะเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากหลั่งไหลไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หรือไม้แต่ในโลกออนไลน์ เราก็มักจะเห็นหลายๆคนแชร์ภาพสถานที่ต่างๆที่ไปเที่ยวมา wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading

ขยะในมือคุณ ทำร้ายสัตว์ป่า

ผมยังจำเหตุการณ์ร้ายๆ ได้ดี ก่อนที่ผมจะเสียแม่ที่ผมรักไป แม่ที่คอยพาผมหากินในป่า ระแวงภัยจากพี่หมาในฝูงใหญ่ หรือน้าเสือดาว ลุงเสือโคร่งจอมเก๋าทั้งหลาย วันนั้น เป็นเวลาเย็น แสงแดดอ่อนแรง แม่พาผมออกหากินหญ้าบริเวณใกล้ลานกางเตนท์ แม่พบกระป๋องสีออกแดงๆ วางอยู่ แม่ได้กลิ่นเศษอาหารและพยายามเลียกินเศษอาหารข้างใน ใช้เท้าเขี่ยไปเขี่ยมา แล้วเท้าของแม่ พลาดไปเหยียบกระป๋องเข้าสวมเอาที่ข้อเท้า wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading

โครงการเเลกเปลี่ยนรู้

“การพัฒนาตัวเอง ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่คนทำงานพึงกระทำ” เมื่อวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2555 กลุ่มใบไม้ และกลุ่มเครือขายเด็กค่ายภาคกลาง ภายใต้โครงการค่ายสร้างสุข มูลนิธิโกมลคีมทอง ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เข้าร่วมการพัฒนาโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการทำโครงการของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม ซึ่งในครั้งนี้ กลุ่มใบไม้ได้หยิบยกโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน “อนุรักษ์ลำน้ำห้วยเขย่ง” เป็นประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading

19 ปี แห่งการสูญเสีย 19 ปีแห่งการเริ่มต้นใหม่

หลังจากเหตุการณ์ช้างป่าตกน้ำตกเหวนรก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในปี 2535 กลุ่มรักษ์เขาใหญ่ได้จัดกิจกรรมรำลึกช้างฯอย่างต่อเนื่อง และได้พัฒนาเป็นค่ายเยาวชนที่เปรียบเสมือนที่บ่มเพาะให้เกิดนักอนุรักษ์ตัวน้อยๆขึ้นมาดูแลโลก   วันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2554 ค่ายรำลึกช้างครั้งที่ 19 ได้ถูกจัดขึ้นโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มรักษ์เขาใหญ่ และภาคีเครือข่ายหลายกลุ่ม เยาวชนกว่า 200 คน ทั้งเยาวชนรอบแนวเขตอุทยานฯ และเยาวชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ขึ้นมาเรียนรู้ธรรมชาติบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติต่อไป wearebaimaiจงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี baimai.org

Continue reading