ชื่อโครงการ : การเรียนรู้ธรรมชาติ และสร้างการมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ “เขาใหญ่ดีจัง”

ระยะเวลาดำเนินโครงการ : กรกฎาคม 2557 – เดือนมกราคม 2558

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของประเทศไทย อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า ที่ทรงคุณค่า จึงได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติร่วมกับผืนป่าใกล้เคียงในนามผืนป่ามรดกโลก “ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก เข้ามาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า เป็นเสมือนสื่อที่มีชีวิตที่มีอยู่จริงในพื้นที่

KEN_8690

ในมุมมองด้านการเรียนรู้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญซึ่งจะทำให้คนหันมาเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั่นคือการสื่อความหมายธรรมชาติ หรือการสร้างกระบวนการและพื้นที่สร้างสรรค์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวที่ขึ้นมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และยังได้เรียนรู้เรื่องราวของการอนุรักษ์จากองค์กรต่างๆ
กลุ่มใบไม้ จึงได้วางแผนจัดโครงการ การเรียนรู้ธรรมชาติ และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ “เขาใหญ่ดีจัง” เพื่อสร้างพื้นที่กิจกรรมในการเรียนรู้เรื่องธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ นำเสนอและสื่อให้คนเห็นความงามและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างต้นแบบเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะสั้นสำหรับเด็กและครอบครัว รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายกลุ่มคนที่รักษ์ธรรมชาติ และสามารถมีกิจกรรมร่วมกันได้ โดยมีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการในช่วงเดือน กรกฎาคม 2557 – เดือนมกราคม 2558 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยหวังว่ากิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของทุกเพศทุกวัยเกี่ยวกับด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อไป

DSC_0378

_KEN48631

วัตถุประสงค์
1.สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนสู่พฤติกรรมที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
2.เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชน และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้สามารถมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์
1.ผู้ร่วมกิจกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ในเรื่องความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ
2.เกิดเครือข่ายเยาวชน และบุคคลทั่วไป ที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม

แนวทางการดำเนินงาน

งานเรียนรู้ธรรมชาติ อช.เขาใหญ่

• เตรียมอาสาสมัคร เพิ่มทักษะนักกิจกรรม
• กิจกรรมเรียนรู้ธรรมชาติ “ตะวันขึ้นดูนก ตะวันตกดูดาว”
• ค่ายเยาวชนรอบผืนป่าเขาใหญ่
• ค่ายศิลปะธรรมชาติ “ความงามในนามเขาใหญ่”
• งานผลิตสื่อ “สื่อความหมายธรรมชาติ”
• นิทรรศการการอนุรักษ์ธรรมชาติ “เขาใหญ่ดีจัง”
• กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ “กรณีปัญหาสัตว์ป่าเขาใหญ่” (ปฏิบัติการ 4ม+1)
• มหกรรม “เขาใหญ่ดีจัง” รวมพลังสร้างสรรค์ มีคน มีต้นไม้ มีสัตว์ป่า

องค์กรเครือข่าย

  • กลุ่มไม้ขีดไฟ
  • กลุ่มรักษ์เขาใหญ่
  • เครือข่ายพื้นที่นี้ดีจัง
  • สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
  • อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่