fbpx
No comments yet

เขื่อน กับการล่มสลายของระบบนิเวศ

squirle

เรื่อง: อุเทน ภุมรินทร์ ภาพ: กุลพัฒน์ ศรลัมภ์

ในช่วงที่สังคมไทยกำลังต้องการคำตอบว่า เขื่อนเป็นทางออกของการจัดการน้ำหรือไม่ เรามาฟังผลงานวิจัยจากเขื่อนเชี่ยวหลาน ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีกัน

เขื่อนเชี่ยวหลานได้สร้างขึ้นในปี 2525 ส่งผลให้พื้นที่ป่าเขาสกมากกว่า 165 ตารางกิโลเมตรถูกแบ่งแยกกลายเป็นป่าหย่อมเล็กหย่อมน้อย (fragmentation) จำนวนถึง 100 กว่าเกาะ เมื่อป่าถูกซอยย่อย ทางทีมวิจัยต้องการค้นหาคำตอบว่า “นานแค่ไหน? ที่สิ่งมีชีวิตที่เหลืออยู่ตามเกาะแก่งจะสูญพันธ์หมดไปจากพื้นที่ องค์ความรู้ที่ได้จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องรู้ว่า ต้องเร่งมือโดยด่วนเพียงใด? เพื่อฟื้นฟูหย่อมป่าเหล่านี้ให้กลับคืนก่อนที่ระบบนิเวศจะล่มสลาย

พวกเขาจึงทำการติดตามสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบนเกาะ จำนวน 12-16 เกาะ ในเวลา 5-7 ปี หลังเขื่อนสร้าง และ25-26 ปีต่อมาว่า เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น สิ่งที่พวกเขาพบคือ สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กได้หายไปเกือบทั้งหมด (ไม่ต้องพูดถึงสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เพราะหมดไปนานแล้วตั้งแต่สร้างเขื่อนใหม่ๆ) เหลือเพียง “หนูท้องขาวปักษ์ใต้ (Malayan field rat)” ชนิดพันธุ์รุกรานที่แพร่กระจายเข้าไปแทนที่อย่างรวดเร็ว

Luke Gibson นักวิจัยจากมหาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ถึงกับเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า “ไม่ต่างจาก ecological Armageddon” –หรือ การล่มสลายเชิงระบบนิเวศ น่าตระหนกยิ่ง เพราะกระบวนการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมากอย่างไม่น่าเชื่อ

บทสรุปสุดท้ายของงานวิจัยบอกเราว่า ต้องอนุรักษ์ป่าผืนใหญ่ และหลีกเลี่ยงโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่จะนำไปสู่การแบ่งแยกป่าออกเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อย เพราะเป็นหนทางเดียวที่เราจะอนุรักษ์ระบบนิเวศโดยรวมไว้ได้

ขอขอบคุณ: พี่เพชร มโนปวิตร ที่แชร์บทความนี้บน Facebook

อ่านเพิ่มเติม: สรุปงานวิจัยที่ย่อยแล้วได้ที่

Gibson et al. 2013. Near-Complete Extinction of Native Small Mammal Fauna 25 Years after Forest Fragmentation. Science 341 (1508-1510)
http://news.sciencemag.org/environment/2013/09/biodiversity-forest-fragments-proves-precarious
http://news.mongabay.com/2013/0926-hance-fragmentation-mammals.html
http://conservationbytes.com/2013/09/27/catastrophic-biodiversity-meltdown/

Comments are closed.