fbpx
No comments yet

3 นกเค้าใกล้บ้านคุณ (Top 3 Urban Owls)

เรื่อง: นายอุเทน ภุมรินทร์ ภาพ: กุลพัฒน์ ศรลัมภ์

นอกจากนกกระจอกบ้าน นกพิราบป่า นกเขาชวา หรือนกกางเขนบ้าน ที่เราพบเจอได้รอบๆ บ้าน ตอนกลางวันแล้ว เคยสงสัยกันไหม? ในเวลากลางคืน มีนกอะไรให้เราดูบ้าง?

10524143_816269988385456_1410673472_n

แม้จะมีนกอยู่หลายกลุ่มที่ทํามาหากินในเวลากลางคืน คือ นกตบยุง (Nightjar) นกปากกบ (Frogmouth) แต่วันนี้ เราขอพูดถึงเฉพาะนกเค้า(owls) หรือกลุ่มนกฮูกตาโตที่เราคุ้นเคย ว่าในสวนหน้าบ้านนั้น จะพบนกนักล่ายามค่ําคืนชนิดไหนบ้าง?

เสียงร้อง “ฮูก…… ฮูก……” ต่ําๆ ติดต่อกัน

ที่เราได้ยินในเวลากลางคืน ตามกลุ่มต้นไม้ใหญ่ อย่า! เพิ่งหลอนว่าเป็นเสียงคน หรือเสียงลี้ลับ แท้จริงแล้ว มันคือเสียงของ นกฮูกหรือนกเค้ากู่ (Collared Scops Owl) ซึ่งเป็นหนึ่งในนกเค้าที่สามารถพบได้ค่อนข้างบ่อย แม้แต่ในเขตเมืองของกรุงเทพฯ แต่ไม่ง่ายนักที่จะหาเจ้าของเสียงพบเพราะลําตัวสีน้ําตาลและขีดสีเข้มกระจายทั่วบริเวณลําตัวด้านล่างช่วยพรางตัวนกได้อย่างดี แต่แนะนําให้พยายามส่องไฟฉายหาตามเสียงและสังเกต “ก้อนกลมๆ” ที่คล้ายปุ่มไม้ตามกิ่งแท้จริงแล้วอาจเป็นนกฮูกเกาะร้องอยู่ก็เป็นได้

10536459_816269991718789_120132995_n

นกฮูกทํารังวางไข่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนในโพรงไม้ตามธรรมชาติ หรือใช้โพรงของนกหัวขวานในช่วงเดือนเมษายน เรามักได้เห็นลูกนกฮูก เกาะเรียงกันแถวกิ่งไม้ใกล้ๆกับโพรงรังจํานวน 3-5 ตัว โดยลูกนกแต่ละตัวจะมีขนาดไม่เท่ากันเป็นเพราะแม่ของมันจะเริ่มฟักไข่ ตั้งแต่วางไข่ใบแรกนั่นเอง เข้าไปฟังเสียงนกฮูกกันได้ตามลิงค์นี้ www.xeno-canto.org/115094

มาทําความรู้จักกันต่อกับนกเค้าอีกชนิดที่คนในกรุงเทพฯคุ้นเคย คือ นกเค้าจุด (Spotted Owlet) เพราะเป็นนกเค้าที่ปรับตัวเก่งพบได้ตามบริเวณพื้นที่เกษตร และสวนสาธารณะแม้แต่ตามตึกร้างหรือที่อยู่อาศัยของคนเราโดยมักพบอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวและเกาะกิ่งไม้ที่โล่งๆ ให้เราเห็นได้ง่าย แม้ในเวลากลางวันเราก็ยังสามารถพบนกเค้าจุดได้ไม่ยาก

นกเค้าจุดเป็นนกเค้าขนาดเล็ก (20 ซม.)ขนาดตัวใกล้เคียงกับนกฮูกและนกเค้าแมว นกเค้าจุดมีม่านตาสีเหลืองวงรอบใบหน้าสีขาว หัวและลําตัวด้านบนสีเทามีลายจุดสีขาวกระจายทั่วไปมีลักษณะเด่นคือ อกมีลายรูปหัวใจสีเทากระจายโดยทั่ว ท้องสีขาวและชนิดสุดท้ายที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือ นกเค้าโมงหรือนกเค้าแมว

(Asian Barred Owlet) เพราะเรามีโอกาสพบบ่อยที่สุดและนกเค้าโมงนั้นมีประชากรค่อนข้างชุกชุมและพบได้ในถิ่นที่อยู่อาศัย(habitat) แทบทุกรูปแบบ ขอเพียงแค่มีไม้ยืนต้นให้อาศัยและกลุ่มไม้ที่ไม่รบทึบจนเกินไปเท่านั้นแม้แต่ตอนกลางวันเราก็พบนกเค้าโมงได้บ่อยครั้งเราพบนกชนิดนี้ในช่วงเวลากลางวัน

ทําไม? จึงเป็นเช่นนั้น คําตอบก็คือนกเค้าโมงเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มักหากินในเวลาพลบค่ําและรุ่งสาง

(crepuscular) บลอกเกอร์ Plains-wanderer เจ้าของคอลัมน์“นกป่าสัปดาห์ละตัว” ของหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึกได้เขียนไว้ว่า “สัตว์ที่มีพฤติกรรมแบบ crepuscularนี้มักมีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาการออกหาอาหารพอสมควรคือสามารถปรับเปลี่ยนเวลาในการหาอาหารได้ตามแต่ปัจจัยต่างๆจะเอื้ออํานวย บ่อยครั้งที่พบสัตว์เหล่านี้หากินในเวลากลางวันแสกๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่สภาพอากาศร่มครึ้มหรืออาจมีกิจกรรมในยามดึกสงัดหากมีเหยื่อของพวกมันออกหากินก็เป็นได้

หากอยากพบนกเค้าโมง ต้องหัดสังเกตโดยสังเกตพฤติกรรมของนกเล็กๆ ที่พบในสวน เช่น นกกางเขนบ้านนกปรอดสวน นกอีแพรดแถบอกดํา เพราะนกพวกนี้จะรวมกลุ่มกันและส่งเสียงดังขับไล่ หรืออาจบินโฉบตี พฤติกรรมนี้ เรียกว่า“mobbing หรือ ก่อม๊อบ” ด้วยนกเค้าโมงเป็นนกนักล่าที่อาจจับนกเล็กๆเหล่านี้เป็นอาหารได้ พวกนกเล็กๆ ก็เลยต้องขับไล่ไปให้ไกลๆแต่นกเค้าโมงมักทํา ‘เนียน’ นั่งเกาะนิ่งบนกิ่งไม้ราวกับหุ่นปั้นด้วยพฤติกรรมนี้ เราจึงมีโอกาสหานกเค้าเจอได้ไม่ยาก

นกเค้าโมงจัดเป็นนกเค้าขนาดเล็กม่านตาสีเหลือง ลําตัวมีลายสีน้ําตาลทั่วทั้งตัว ท้องสีขาวบริเวณอกมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวต่อเนื่องกับท้องโดยลายที่อกกระจายกันอย่างไม่เป็นระเบียบนกเค้าทุกชนิดเป็นนกล่าเหยื่อที่ช่วยควบคุมปริมาณสัตว์ขนาดเล็กในธรรมชาติให้กับเรา ผู้เขียนเองเคยพบนกเค้าโมงและนกเค้ากู่จัดการกับหนูท่อในเมืองเป็นอาหารเช่นเดียวกับนกเค้าจุดที่อาหารหลักเป็นแมลง โดยเฉพาะด้วงปีกแข็งซึ่งหลายชนิดเป็นแมลงศัตรูพืชใครอยากเห็นนกทั้งสามชนิดนี้(ยกเว้นนกฮูกหรือนกเค้ากู่ที่ออกหากินกลางคืนแต่อาจพบได้ในช่วงที่ลูกนกออกจากรัง)

แนะนําให้เข้าร่วมไปร่วมกิจกรรม “Bird walk เดินชมนกในสวน”ของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทยจัดทุกสุดสัปดาห์แรกของเดือน โดยวันเสาร์จัดที่สวนวชิรเบจทัศ(สวนรถไฟ) วันอาทิตย์ที่สวนหลวง ร.๙ แถมวันอาทิตย์ที่สองของเดือนจัดที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ติดตามสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

www.facebook.com/bcst.or.th

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก 1. http://www.oknation.net/blog/plains-wanderer

2. Leadprathom K., Chimchome V. & Bumrungsri S. 2009.

Nesting ecology of the Collared Scops Owl Otus lettia in Thailand.

In: Johnson D.H., Van Nieuwenhuyse D. & Duncan J.R. (eds)

Proc. Fourth World Owl Conf. Oct–Nov 2007, Groningen, The Netherlands. Ardea 97(4): 457–461.

Comments are closed.